งานศึกษาวิจัยล่าสุด
การทำแผนที่บริเวณตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินภาครัฐโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS และ Remote Sensing ทำให้ได้มาซึ่งแผนที่ประกอบการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในรูปแบบ digital สามารถนำประยุกต์ใช้งานตามสภาพพื้นที่จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการบูรณาการข้อมูลด้าน GIS และ RS ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินภาครัฐในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จึงเป็นโครงการเร่งด่วนที่เรากำลังดำเนินการอยู่
ปัญหาสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดินของเจ้าหน้าที่รัฐในท้องที่ คือการตีความและการอ้างอิงกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายๆ ฉบับที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน ซึ่งยากต่อการปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย
การศึกษาความไม่สอดคล้องกันในเชิงพื้นที่ และนิยามตามเนื้อหากฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดินภาครัฐ ในรูปแบบ content analysis และ matrix analysis จะสามารถระบุความไม่สอดคล้องกันของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้ เพื่อการนำไปสู่การแก้ไขกฎระเบียบ และสร้างแนวปฏิบัติที่สามารถลดปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย และความขัดแย้งในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
One map solution สำหรับการบูรณาการข้อมูลต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของจังหวัดภูเก็ต ในลักษณะ smart governance จะสามารถสนับสนุนการเป็น smart city ของจังหวัดภูเก็ตตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี
โครงการศึกษาความเป็นไปได้ และการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Smart Data Integration and Visualization for Decision Making ที่อยู่บน Cloud Platform สำหรับหน่วยงานภาครัฐและประชาชนทั่วไป จึงเป็นโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่เราต้องการทำให้เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตของเราอย่างยั่งยืน
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา
ผู้สนับสนุนงานวิจัย และรางวัล
บริการ
ตรวจสอบพื้นที่ของท่านตามกฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดิน
-
เพื่อความถูกต้องในการตรวจสอบ กรุณาขยายแผนที่ แล้วเลือกพื้นที่ใหม่พื้นที่ที่คุณเลือกเป็น พื้นที่สาธารณะ กรุณาเลือกพื้นที่ใหม่กรุณาขยายแผนที่ เพื่อแสดงความลาดชันพื้นที่
-
จังหวัดภูเก็ต
เส้นขอบเขตการปกครอง แหล่งน้ำสาธารณะ แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กฟผ ถนนสาธารณะ ความลาดชันของพื้นที่ (อัตราร้อยละ)บริเวณที่ ๑ : พื้นที่ที่มีความชันระหว่างอัตราร้อยละ ๒๐ ถึง ๓๕ เมตร บริเวณที่ ๒ : พื้นที่ที่มีความชันมากกว่าอัตราร้อยละ ๓๕ เมตร ประกาศสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. ๒๕๖๐)บริเวณที่ ๑ : พื้นที่ที่วัดจากแนวชายฝั่งทะเลรอบเกาะภูเก็ตเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ ๕๐ เมตร บริเวณที่ ๒ : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ ๑ เข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ ๑๕๐ เมตร บริเวณที่ ๓ : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ ๒ เข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ ๒๐๐ เมตร บริเวณที่ ๔ : พื้นที่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต บริเวณที่ ๕ : พื้นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม บริเวณที่ ๖ : พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ ๔๐ - ๘๐ เมตร บริเวณที่ ๗ : พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเกินกว่า ๘๐ เมตร ขึ้นไป บริเวณที่ ๘ : พื้นที่ในเกาะภูเก็ตและเกาะต่าง ๆ นอกจากบริเวณที่ ๑ ถึง บริเวณที่ ๗ บริเวณที่ ๙ : พื้นที่น่านน้ำทะเลภายในเขตจังหวัดภูเก็ต กฎหมายควบคุมอาคาร ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๙)บริเวณที่ ๑ : พื้นที่ในบริเวณที่เริ่มจากแนวเขตควบคุมอาคารตะวันตก ไปทางทิศตะวันออกข้ามถนนป่าตอง-กมลา ถนนทวีวงศ์ และถนนเลียบริมหาดป่าตองจนถึงระยะที่ห่างจากแนวศูนย์กลางถนนป่าตอง-กมลา ถนนทวีวงศ์ และถนนเลียบริมหาดป่าตอง ๑๕ เมตร ไปทางทิศเหนือจดเขตตำบลกมลา ไปทางทิศใต้จนจดบริเวณที่ห่างจากกึ่งกลางคลองปากบางไปทางทิศใต้ตามแนวถนนเลียบริมหาดป่าตองเป็นระยะ ๕๐๐ เมตร บริเวณที่ ๒ : พื้นที่ที่วัดจากแนวศูนย์กลางถนนราษฏรอุทิศ ถนนสองร้อยปี และถนนทุกสายที่เชื่อมระหว่างถนนทวีวงค์กับถนนราษฏรอุทิศ และถนนสองร้อยปี ออกไปทั้งสองข้าง ข้างละ ๑๕ เมตร บริเวณที่ ๓ : พื้นที่ที่วัดจากสุดแนวเขตบริเวณที่ ๑ ตลอดแนวไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะ ๑๕๐ เมตร บริเวณที่ ๔ : พื้นที่ในบริเวณระว่างบริเวณที่ ๒ กับบริเวณที่ ๓ และพื้นที่ในบริเวณที่วัดจากสุดแนวเขตบริเวณที่ ๒ ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ ตลอดแนวบริเวณที่ ๓ กว้าง ๑๕๐ เมตร กฎหมายควบคุมอาคาร ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๒)บริเวณที่ ๑ : พื้นที่วัดจากแนวชายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ตลงไปในทะเล ๑๐๐ เมตร และวัดจากแนวชายฝั่งเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ ๕๐ เมตร ยกเว้นพื้นที่ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๙) บริเวณที่ ๒ : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ ๑ เข้าไปในแผ่นดิน เป็นระยะ ๑๕๐ เมตร บริเวณที่ ๓ : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ ๒เข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ ๓๐๐ เมตร กฎหมายผังเมือง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๘)บริเวณที่ ๑ : ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย บริเวณที่ ๒ : ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง บริเวณที่ ๓ : ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก บริเวณที่ ๔ : ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า บริเวณที่ ๕ : ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ บริเวณที่ ๖ : ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม บริเวณที่ ๗ : ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม บริเวณที่ ๘ : ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ บริเวณที่ ๙ : ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา บริเวณที่ ๑๐ : ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพการท่องเที่ยวและการประมง บริเวณที่ ๑๑ : ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล บริเวณที่ ๑๒ : ที่ดินประเภทอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล บริเวณที่ ๑๓ : ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย บริเวณที่ ๑๔ : ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา บริเวณที่ ๑๕ : ที่ดินประเภทสถาบันราชการ บริเวณที่ ๑๖ : ที่ดินประเภทโครงการคมนาคมและขนส่ง เทศบัญญัติ เทศบาลเมืองป่าตอง (พ.ศ. ๒๕๔๘)บริเวณที่ ๑ : พื้นที่ในบริเวณเทศบาลเมืองป่าตอง เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ ๒ และพื้นที่ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๙) และ ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๒) บริเวณที่ ๒ : - ทิศเหนือ: จุดที่บรรจบเขตถนนราษฎร์อุทิศ ๒๐๐ ปีฟากตะวันออก กับเขตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๙ ฟากใต้ ไปทางทิศตะวันออกจดเขตถนนผังเมืองสาย ก ฟากตะวันตก และจุดที่บรรจบเขตถนนผังเมืองสาย ก กับเขตถนนไสน้ำเย็นฟากใต้ไปทางทิศตะวันออกจดเขตถนนนาในฟากตะวันตก
- ทิศตะวันออก: จดเขตถนนนาในฟากตะวันตก
- ทิศใต้: จุดที่บรรจบเขตถนนราษฎร์อุทิศ ๒๐๐ ปีฟากตะวันออก กับเขตถนนประชานุเคราะห์ ฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกจดเขตถนนนาในฟากตะวันตก
- ทิศตะวันตก: จดเขตถนนราษฎร์อุทิศ ๒๐๐ ปีฟากตะวันออก
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานที่ราชการ สถาบันการศึกษา ศาสนสถาน และที่สาธารณประโยชน์กรุณาเลือกประเภทสิ่งปลูกสร้างกลุ่ม:ประเภท:กิจการ:10 สิ่งปลูกสร้างที่มีการตรวจสอบมากที่สุด
นโยบาย และกฎหมายการใช้ประโยชน์ที่ดิน จังหวัดภูเก็ต
งานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลงานศึกษา และผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ
-
2561
ข้อมูลเชิงโครงสร้างและเชิงพื้นที่ของกฎหมายควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บสำหรับตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน
-
2559
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บสำหรับตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายภาครัฐ
-
2559
การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพี้นที่จังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน ประเทศไทย
-
2558
Web application for GIS-based tourism data integration of Phuket province, Thailand
-
2556
Land use change after Tsunami, Cherng Talay Sub-distric, Thaland, Phuket, Thailand
-
2556
Historical land use and land cover changes, 1989-2011, in Phuket, Thailand
-
2556
No buildings on lands over 80 meters above sea level? - a case study of Kamala Phuket
-
2556
Oil palm expansion in Amphoe Lam Thap, Krabi province, Thailand
-
2555
Application of remote sensing for monitoring land cover and land use change in Phang-nga province, Thailand
-
2555
Urban change monitoring and land use policy
-
2555
Is oil palm agriculture expansion really restricted to pre-exising cropland?
-
2555
Land use change and the town planning policy of Phuket